เมนู

4. จูฬทุกขักขันธสูตร


[209] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. ณ นิโครธาราม เขตกรุง
กบิลพัสดุ์แคว้นสักกะ. ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะทรงพระนามว่า มหานาม
เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์เข้าใจข้อธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมานานแล้วอย่างนี้ว่า
โสภะ โทสะ โมหะ ต่างเป็นอุปกิเลสแห่งจิต. ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น
โลภธรรมก็ดี โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้
ได้เป็นครั้งคราว ข้าพระองค์เกิดความคิดเห็นอย่างนี้ว่า ธรรมชื่ออะไรเล่า
ที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้โลภธรรมก็ดี
โทสธรรมก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้เป็นครั้งคราว.
[210] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหานาม ธรรมนั้นนั่นแล
ท่านยังละไม่ได้เด็ดขาดในภายใน อันเป็นเหตุให้ โลภธรรมก็ดี โทสธรรม
ก็ดี โมหธรรมก็ดี ยังครอบงำจิตของท่านไว้ได้เป็นครั้งคราว. ดูก่อนมหานาม
ก็ธรรมนั้นจักเป็นอันท่านละได้เด็ดขาดในภายในแล้ว. ท่านก็ไม่พึงอยู่ครอง
เรือน ไม่พึงบริโภคกาม. แต่เพราะท่านละธรรมเช่นนั้นยังไม่ได้เด็ดขาดใน
ภายใน ฉะนั้น ท่านจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม.
[211] ดูก่อนมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดย
ชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก
โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้. แต่อริยสาวกนั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม

ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะยังเป็นผู้ไม่
เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน. แต่เมื่อใด เธอได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบอย่าง
นี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง
ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศล
ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้.
ดูก่อนมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้
ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้. และเราก็เว้นจากกาม
เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น
เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน. แต่เมื่อใด เราเล็งด้วยปัญญา
โดยชอบ ตามเป็นจริงนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับ-
แค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้. และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม
บรรลุปีติและสุข และกุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า
เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
[212] ดูก่อนมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นคุณของกามทั้งหลาย ดูก่อน
มหานาม กามคุณ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ รูปที่พึงรู้แจ้งด้วย
จักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด เสียงที่พึงรู้แจ้งด้วยโสต. . . กลิ่นที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานะ. . . รสที่
พึงรู้แจ้งด้วยชิวหา. . . โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูก่อนมหานาม
กามคุณ 5 ประการเหล่านี้แล. ความสุข ความโสมนัสใดเล่า อาศัยกามคุณ
5 เหล่านี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณของกามทั้งหลาย.

โทษของกาม


[213] ดูก่อนมหานาม ก็อะไรเล่าเป็นโทษของกามทั้งหลาย กุลบุตร
ในโลกนี้ เลี้ยงชีวิตด้วยความขยัน ประกอบศิลปะใด คือ ด้วยการนับคะแนน
ก็ดี ด้วยการคำนวนก็ดี ด้วยการนับจำนวนก็ดี ด้วยการไถก็ดี ด้วยการค้า
ขายก็ดี ด้วยการเลี้ยงโคก็ดี ด้วยการยินธนูก็ดี ด้วยการเป็นราชบุรุษก็ดี
ด้วยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ต้องตรากตรำต่อความหนาว ต้องตรากตรำ
ต่อความร้อน งุ่นง่านอยู่ด้วยสัมผัสแต่เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เสือก
คลาน ต้องตายด้วยความหิวระหาย ดูก่อนมหานาม แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของ
กามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า
มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกามทั้งหลายทั้งนั้น ดูก่อนมหานาม
ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้น ขยัน สืบต่อพยายามอยู่อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นก็ไม่สำเร็จผล
เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า
ความขยันของเราเป็นโมฆะหนอ ความพยายามของเราไม่มีผลหนอ. ดูก่อน
มหานาม แม้นี้เล่าก็เป็นโทษของกามทั้งหลาย เป็นกองทุกข์ที่เห็นกันอยู่ มี
กามเป็นเหตุ มีกามเป็นต้นเค้า มีกามเป็นตัวบังคับ เกิดเพราะเหตุแห่งกาม
ทั้งหลายทั้งนั้น. ดูก่อนมหานาม ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นขยัน สืบต่อพยายามอยู่
อย่างนี้ โภคะเหล่านั้นสำเร็จผล เขากลับเสวยทุกข์ โทมนัส ที่มีการคอยรักษา
โภคะเหล่านั้นเป็นตัวบังคับว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลายไม่พึงริบโภคะ
เหล่านั้นไปได้ พวกโจรพึงปล้นไม่ได้ ไฟไม่พึงไหม้ น้ำไม่พึงพัดไป ทายาท
อัปรีย์พึงนำไปไม่ได้. เมื่อกุลบุตรนั้นคอยรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ พระราชา
ทั้งหลายริบโภคะเหล่านั้นไปเสียก็ดี โจรปล้นเอาไปเสียก็ดี ไฟไหม้เสียก็ดี น้ำ
พัดไปเสียก็ดี ทายาทอัปรีย์นำไปเสียก็ดี เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก รำพัน ตีอก
คร่ำครวญ ถึงความหลงเลือนว่า สิ่งใดเล่าเคยเป็นของเรา แม้สิ่งนั้นก็ไม่เป็นของ